วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ธงชาติไทย

พัฒนาการของธงชาติไทย


1.
ระยะเวลาการใช้
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325 (ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398 (ธงเรือเอกชน
การบังคับใช้
ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช





2.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2325 - 2360
การบังคับใช้
พระบรมราชโองการใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช





3.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2360 - 2398
การบังคับใช้
พระบรมราชโองการใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย



4.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2398 - 2459
การบังคับใช้
พระบรมราชโองการใน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116

พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129



5.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2459 - 2460
การบังคับใช้
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ) พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไข

พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459

6.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2459 - 2460 การบังคับใช้
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459
(ในชื่อ "ธงค้าขาย")


7.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน
การบังคับใช้
พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460

พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
















วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7


ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ



1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี


2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย


3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย



นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก


กิจกรรมในวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชาเป็นวันที่สำคัญที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของ พระพุทธเจ้า กิจกรรมที่ทำในวันนี้ ชาวไทยนิยม ทำบุญ ตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา และฟังเทศน์ ทำจิตใจให้สงบ พอตกกลางคืนจะมีการเวียนเทียนที่วัด ลักษณะการเวียนเทียนจะเวียนขวาของโบสถ์ 3 รอบ ในขณะที่เวียนรอบที่ 1 ในระลึกพระคุณของพระพุทธเจ้า รอบที่ 2 ระลึกถึงพระคุณของพระธรรม รอบที่ 3 ระลึกถึงพระคุณของพระสงฆ์ และวนำดอกไม้ธูปเทียน ไปยังที่จัดให้วาง และร่วมสวดมนต์ ฟังเทศน์ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และงดเว้นจากการทำชั่ว ทำแต่สิ่งที่ดีงาม

แบบทดสอบหลังเรียน

http://quickr.me/qZFviSN





























ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา



รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา

รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ 3 ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลาง อยุธยาตอนปลาย

การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น มีลักษณะดังนี้

การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน

ส่วนที่ 1) การปกครองส่วนกลาง การปกครองในเขตราชธานี และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่ กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง (ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี) กรมคลัง (ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)

ส่วนที่ 2) การปกครองส่วนหัวเมือง แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

1. เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ เช่น ลพบุรี นครนายก พระประแดง สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
2. หัวเมืองชั้นใน อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตะนาวศรี ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง
3.หัวเมืองชั้นนอก หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
4. เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น


การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้

ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง

ช่วงที่ 1 เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน ทหาร มี สมุหกลาโหมดูแล ส่วนพลเรือนมี สมุหนายก ดูแล
สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช
สมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี


การปฏิรูปส่วนหัวเมือง แยกเป็น 3 ส่วน

หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน ทรงขุนนางไปครองเรียก ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า เมืองพระยามหานคร จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี
เมืองประเทศราช คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม
ช่วงที่ 2 ตรงกับสมัยพระเพทราชา ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้ สมุหกลาโหม ดูแล

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ในช่วง 2231-2310) มีลักษณะดังนี้

พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม ส่วนสมุหนายก ยังคงเหมือนเดิม การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง


สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ตลอด
จนสิ้นอยุธยา
แบบทดสอบหลังเรียน

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาเขต
ทิศเหนือจรดเมืองลำพูน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็นและภูเขาพนมดงรัก
ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดีทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์




อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไทโดยทำ สงครามปราชัยแก่พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981

ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย

แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นและการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
1.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นเมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบนายปกครองบ่าวเมื่อสถาปนากรุงสุโขทัย ขึ้นใหม่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบบิดาปกครองบุตรหรือพ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1.1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำราจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
1.2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากจึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือพ่อจึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่าพ่อขุน
1.3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้นๆเริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้านมีพ่อบ้านเป็นผู้ปกครองหลายบ้านรวมกันเป็นเมืองมีพ่อเมืองเป็นผู้ปกครองหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศมีพ่อขุนเป็นผู้ปกครอง
1.4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
1.5.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลายการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลงเนื่องจากสถาบันพระมหากษะตริย์ไม่มั้นคงเกิดความรำส่ำระสายเมืองต่างๆแยกตัวเป็นอิสระพระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบายทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ ราษฏรเพื่อให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสร้างความสามัคคีในบ้านเมือง

ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบธรรมราชาดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรกและพระมหากษัตริย์องค์ ต่อมาทรงพระนามว่า"พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์"
การปกครองสมัยสุโขทัย


การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3ลักษณะ คือ

1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัยการปกครองลักษณะนี้พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตรการปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตยลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและต้องเผยแพร่ธรรมะสู่ประชาชนด้วยการปกครอง แบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือเตภูมิกถา(ไตรภูมิพระร่วง)ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพเป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น

การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น


1. เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์พระราชวังและวัดจำนวนมากตั้งอยู่ในและนอกกำแพงเมืองราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครองการศาสนาวัฒนธรรมศิลปะและขนบประเพณีพระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
2. เมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่านตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า ประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงส์ได้รับแการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์


ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย

1. การเปลี่ยนแปลงการปกครองสุโขทัยสมัยแรกๆปกครองแบบพ่อปกครองลูกและได้เปลี่ยนเป็นสมมติเทพในสมัยพญาเลอไทซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของ พระมหากษัตริย ์กับประชาชนห่างเหินกันมากขึ้น ความสัมพันธ์แบบเครือญาติหมดไปพระมหากษัตริย์ต้องปกครองประเทศโดยลำพังทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่ายถ้าพระมหากษัตริย์อ่อนแอ
2. การกระจายอำนาจในการปกครองการปกครองแบบนี้ทำให้หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นอิสระได้ง่าย เพราะมีอิทธิพลในการปกครองตนเอง
3. การแตกแยกในราชวงศ์สาเหตุนี้ทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมและสูญเสียกำลังมากเพราะการฆ่าฟันกัน
4. การสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งเกิดจากการสถาปนากรุงศรีอยุธยาที่มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งมากกว่า


การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยสถาปนาขึ้นประมาณตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาดังนี้

1. การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรขอม อาณาจักรขอมเคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ตอนล่าง มีเมืองนครธม(พระนครหลวง) เป็นเมืองหลวง ในประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และแผ่อิทธิพลเข้ามายังบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วย ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( พ. ศ. 1724 – 1761) อาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองมาก หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาอ่อนแอ ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้ อาณาจักรขอมจึงเสื่อมอำนาจลงเรื่อย ๆ จึงเปิดโอกาสให้ชนชาติอื่นที่อาศัยในบริเวณนั้นตั้งตัวเป็นอิสระ อย่างเช่นชนชาติไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา
2. ความสามารถของผู้นำชาวไทย ในตอนหลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขอมที่มีศูนย์กลางการปกครองที่สุโขทัย เมืองของคนไทยอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ได้แก่เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางยาง เมืองราก ได้รวมตัวกันอย่างมั่นคงและมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่แน่นแฟ้น เมื่อขอมเสื่อมอำนาจจึงร่วมมือกันขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากสุโขทัยได้เป็นอาณาจักรของคนไทยได้สำเร็จ


พระมหากษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัย

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย เป็นกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงมีจำนวน 9 พระองค์ ดังนี้

พระนาม ปีที่ขึ้นครองราชย์ ปีที่สิ้นสุดรัชสมัย

1.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ.ศ. 1792 ไม่ปรากฎ
2.พ่อขุนบานเมือง ไม่ปรากฏ พ.ศ. 1822
3.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ.1822 พ.ศ. 1841
4.พระยาเลอไท พ.ศ.1841 ไม่ปรากฎ
5.พระยางั่วนำถม ไม่ปรากฎ พ.ศ.1890
6.พระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไท) พ.ศ. 1890 ระหว่าง พ.ศ. 1911-1916
7.พระมหาธรรมราชาที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 1911-1916 พ.ศ. 1942
8.พระมหาธรรมราชาที่ 3(ไสลือไท) พ.ศ.1943 พ.ศ.1962
9.พระมหาธรรมราชาที่ 4(บรมปาล) พ.ศ.1962 พ.ศ.1981


แบบทดสอบหลังเรียน