วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรมไทย
ศาลยุติธรรมของประเทศไทยประกอบด้วยศาลหลักคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา

ศาลชั้นต้น

ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่มีเขตอำนาจทั่วไปทั้งทางแพ่งและอาญาอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ศาล ในศาลชั้นต้นผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะ มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอ หรือมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือมีคำสั่งในคดีอาญา หรือพิจารณาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท หรือพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งมีโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท แต่จะลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้ ส่วนในกรณีอื่นๆการพิจารณาคดีจะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงจะเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรืออาญาทั้งปวง ศาลจังหวัด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีศาลจังหวัด 3 ศาล คือ ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลจังหวัดปากพนัง ศาลจังหวัดทุ่งสง ศาลแขวง เป็นศาลระดับล่าง มีผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจทำได้ตามที่กำหนดไว้ใน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กล่าวคือ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาความผิดเล็กๆน้อยๆทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เช่นคดีเกี่ยวกับการพนัน โสเภณี หรือคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน สามแสนบาท หรือมีอำนาจออกหมายเรียก (ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาศาลเพื่อพิจารณาพิพากษาคดี)หมายอาญา ซึ่งเป็นหนังสือบงการให้เจ้าหน้าที่ทำ การตรวจค้น จับ ขัง จำคุก หรือปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือนักโทษ หรือ ตามหมายสั่งให้คนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น หรืออกคำสั่งใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

ศาลอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ (ม.21) เป็นศาลชั้นกลางที่ตั้งขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คู่ความที่ไม่พอใจในคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น ได้มีสิทธิที่จะขอให้ศาลลำดับที่สูงกว่าซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าได้ ทำการพิจารณาพิพากษาอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นการให้หลักประกันความยุติธรรมแก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย “สามคน”จึงจะเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ คดีอุทธรณ์นี้อาจจะเป็น “คดีลหุโทษหรือคดีอุกฉกรรจ์ หรือคดีแพ่งโดยไม่จำกัดจำนวนทุนทรัพย์ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด”



ศาลฎีกา

ศาลฎีกา เป็นศาลชั้นสูงสุด ม.23 บัญญัติให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกา

ตามบัญญัติแห่งกหมายว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา และคดีที่กฏมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจ พิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย คดีที่ศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้ว คู่ความไม่มีสิทธิ์ที่จะทูลเกล้า ถวายฎีกาคัดค้านคดีนั้นต่อไป หมายเหตุ บางเรื่องกฏมายห้ามฎีกา เช่น
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 บัญญัติห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถ้าในคดีนั้นมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 บัญญัติ ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถ้าคดีนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
- ห้ามโจทย์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถ้าในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามเช่นเดียวกับมาตรา 219 ที่บัญญัติห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถ้าในคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ ทั้งนี้ภายใต้ข้อยกเว้นบางประการ ส่วนข้อกฏหมายนั้นคู่ความฎีกาได้เสมอ ศาลชำนัญพิเศษอื่น (ศาลเยาวชนและครอบครัว)วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชน รวมทั้งช่วยเหลือและคุ้มครองสถานภาพของการสมรส สามี ภรรยา และ บุตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

- ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ
- ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด มีอยู่ 8 จังหวัดคือ สงขลา-นครราชสีมา-เชียงใหม่-อุบลฯ- ระยอง-สุราษฎร์ฯ-นครสวรรค์ และ ขอนแก่น
- จะต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่า 2 คนและผู้พิพากษาสมทบอีก 2 คน ซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาคดีได้
- มีสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนคู่กันไปทุกศาล
- เด็กหมายถึง บุคลอายุเกิน 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปี
- เยาวชนหมายถึงบุคคลอายุ 14 ปีแต่ไม่เกิน 18 ปี

ศาลแรงงาน

ศาลแรงงาน มี 3 ประเภท คือ

1.ศาลแรงงานกลาง
2.ศาลแรงงานภาค
3.ศาลแรงงานจังหวัด
“ในกรณีที่คู่ความไม่พอใจคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานก็มีสิทธิอุทธรณ์เฉพาะในปัญหา ข้อกฏหมายไปยังศาลฎีกาได้”

ศาลภาษีอากร

ศาลภาษีอากร มี 2 ประเภท คือ ศาลภาษีอากรกลาง และศาลภาษีอากรจังหวัด ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ มี 2 ประเภทคือ

1.ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ
2.การค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค
ศาลล้มละลาย

ศาลล้มละลาย
มี 2 ประเภท คือ ศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายภาค ศาลปกครอง เป็นองค์กรอิสระขึ้นตรงต่อประธานศาลปกครองสูงสุด
- พ.ศ.2535 นายชวน หลีกภัย ได้กำหนดนโยบายให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น
- นายบรรหาร ศิลปะอาชา ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง
- พลเอก เชาวลิต ยงใจยุทธ ร่าง พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองออกมาบังคับใช้ได้เป็นผลสำเร็จ
- ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่มีข้อพิพาททางกฎหมายปกครองระหว่างเอกชนกับหน่วย
งานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือระหว่างเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกัน
- ศาลปกครองกำหนดโครงสร้างไว้เพียง 2 ชั้นคือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด

ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระ ขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ
- เริ่มก่อตั้งภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2475
- บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆมีข้อความขัดแย้งหรือขัดแก่รัฐธรรมนูญ ท่านว่าบทบัญญัตินั้นเป็น โมฆะ คณะ

ตุลาการรัฐธรรมนูญ ตั้งขึ้นเนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายตุลาการในคดีอาชญากรสงครามช่วงที่นายทวี บุญยเกตุ เป็นรัฐบาล เพื่อเอาผิดกับบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่นำประเทศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 59 คณะ ดังนี้
ครม.ที่ นายกรัฐมนตรี เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ระยะเวลา สิ้นสุดลงโดย


1.) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา(ก้อน หุตะสิงห์) 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 165 วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475

2.) 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 1 เมษายน พ.ศ. 2476 รัฐประหาร โดยพระราชกฤษฎีกา

3.) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ลาออก และรัฐประหาร (นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา บังคับให้ลาออก)

4.) พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป)

5.) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 22 กันยายน พ.ศ. 2477 ลาออก (สภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)

6.) 22 กันยายน พ.ศ. 2477 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ลาออก (กระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)

7.) 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 สภาครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)

8.) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ยุบสภา(เลือกตั้งทั่วไป)

9.) จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 ลาออก (เปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม)

10.) 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ลาออก (สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด)

11.) พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ลาออก (สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง)

12.) นายทวี บุณยเกตุ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 17 กันยายน พ.ศ. 2488 17 วัน ลาออก (เปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน)

13.) หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 17 กันยายน พ.ศ. 2488 31 มกราคม พ.ศ. 2489 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
14.) พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 ลาออก (แพ้มติสภาที่เสนอพระราชบัญญัติที่รัฐบาลรับไม่ได้)


15.) นายปรีดี พนมยงค์(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 (เลือกตั้งทั่วไป)

16.) 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ลาออก (ถูกใส่ความกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8)

17.) พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ลาออก (หลังจากการอภิปรายทั่วไป 7 วัน 7 คืน)

18.) 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐประหาร นำโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณคณะทหารแห่งชาตินำโดย จอมพล ผิน ชุณหะวัณ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 3 วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

19.) พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ลาออก (เป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดเลือกตั้งทั่วไป)

20.) 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 8 เมษายน พ.ศ. 2491 ลาออก (คณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง (รัฐประหารเงียบ)

21.) จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) 8 เมษายน พ.ศ. 2491 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 (เลือกตั้งทั่วไป)

22.) 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะบริหารประเทศชั่วคราวประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 อีกครั้งหนึ่งไปพลางก่อน (รัฐประหารตนเอง)

23.) 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่24 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494

24.) มีนาคม พ.ศ. 2495 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 (เลือกตั้งทั่วไป)


25.) 24 มีนาคม พ.ศ. 2495 21 มีนาคม พ.ศ. 2500 สภาผู้แทนราษฎรครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)

26.) 21 มีนาคม พ.ศ. 2500 16 กันยายน พ.ศ. 2500 รัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์คณะทหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในฐานะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 21 กันยายน พ.ศ. 2500 5 วัน แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

27.) นายพจน์ สารสิน 21 กันยายน พ.ศ. 2500 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป)

28.) จอมพล ถนอม กิตติขจร 1 มกราคม พ.ศ. 2501 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ลาออกและรัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คณะปฏิวัติ นำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

29.) จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 นายกรัฐมนตรีถึงแก่อสัญกรรม

30.) จอมพลถนอม กิตติขจร 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511(เลือกตั้งทั่วไป)

31.) 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 รัฐประหาร โดยจอมพล ถนอม กิตติขจร (รัฐประหารตนเอง) คณะปฏิวัติ นำโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 17 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

32.) จอมพล ถนอม กิตติขจร 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ลาออก (เกิดเหตุการณ์14ตุลา)

33.) นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ลาออก (อ้างเหตุร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ)

34.) 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 (เลือกตั้งทั่วไป)


35.) หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 ไม่ได้รับความไว้วางใจ จากส.ส. ในการแถลงนโยบาย

36.) พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 20 เมษายน พ.ศ. 2519 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)

37.) หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 20 เมษายน พ.ศ. 2519 25 กันยายน พ.ศ. 2519 ลาออก (วิกฤตการณ์จอมพล ถนอม กลับประเทศเพื่ออุปสมบท)

38.) 25 กันยายน พ.ศ. 2519 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 11 วัน รัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 2 วัน แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 เป็นผลให้คณะปฏิรูปฯ แปรสภาพเป็น สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

39.) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 รัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ คณะปฏิวัติ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 1 เดือน ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

40.) พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 (เลือกตั้งทั่วไป)

41.) 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ลาออก (วิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย)

42.) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 30 เมษายน พ.ศ. 2526 ยุบสภา(เลือกตั้งทั่วไป)

43.) 30 เมษายน พ.ศ. 2526 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)

44.) 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)

45.) พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ สิงหาคม พ.ศ. 2531 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ลาออก แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่

46.) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 รัฐประหาร นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 5 วัน ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

47.) นายอานันท์ ปันยารชุน 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 (เลือกตั้งทั่วไป)

48.) พลเอก สุจินดา คราประยูร 7 เมษายน พ.ศ. 2535 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ลาออก (เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ)นายมีชัย ฤชุพันธุ์ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535

49.) นายอานันท์ ปันยารชุน 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)

50.) นายชวน หลีกภัย 23 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)

51.) นายบรรหาร ศิลปอาชา 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ยุบสภา(เลือกตั้งทั่วไป)

52.) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ลาออก (วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)


53.) นายชวน หลีกภัย 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)

54.) พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 1461 วัน สภาฯ ครบวาระ 4 ปี

55.) 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ต่อมาถูกศาลพิพากษาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาเกิด รัฐประหาร โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ระหว่างที่ ครม.รักษาการเพื่อรอการเลือกตั้งครั้งใหม่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.)นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน 19 กันยายน พ.ศ. 2549 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 12 วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
56.) พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 29 มกราคม พ.ศ. 2551 486 วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (เลือกตั้งทั่วไป)


57.) นายสมัคร สุนทรเวช 29 มกราคม พ.ศ. 2551 9 กันยายน พ.ศ. 2551 223 วัน ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 18 กันยายน พ.ศ. 2551 9 วัน

58.) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 75 วัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชนและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 15 วัน

59.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปัจจุบัน

รัฐสภาไทย


รัฐสภาไทย



รัฐสภาไทยห้องประชุมรัฐสภาไทยรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา

ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย


สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา


ประธานรัฐสภาไทย

ประธานรัฐสภาไทย เป็นตำแหน่งประมุขของ อำนาจนิติบัญญัติ ของไทย ซึ่งในแต่ละช่วงเวลา จะประกอบด้วยสภาเดียวหรือสองสภา แล้วแต่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในขณะนั้นตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รัฐสภาไทยประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยมีโดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'

การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น
รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ

กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ
กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478
ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา
กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481
ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490
คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย
กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491
จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง

รัฐประหาร 6 เมษายน 2491 คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป

กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491
พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ
กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492
นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง
กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494
นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ
รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง
กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497
นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี
รัฐประหาร 16 กันยายน 2500
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501
เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514
จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี
ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516
การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ
ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว

กบฎ 26 มีนาคม 2520
พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520
กบฎ 1 เมษายน 2524
พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้
การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528
พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ
- กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
- กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ
ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่
- สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ
- สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
- สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน

การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

เหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)

เหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)




กบฏ ร.ศ. 130 คณะกบฏ ร.ศ. 130กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์

คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ

ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า

ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์

ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์

ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์

ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ

ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ

คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ


ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฎิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕

การปฎิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕




การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีพ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัปมาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม เช่น การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น เป็นต้นมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. มูลเหตุภายใน
- ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น
- การคมนาคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น
- การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง
2. มูลเหตุภายนอก
- หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักรวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคม

การปกครองส่วนกลางทำการปฏิรูปโดยจัดตั้งหน่วยราชการใหม่ เรียกว่า กระทรวง ซึ่งมี ๑๒ กระทรวง ใน พ.ศ.๒๔๓๕ แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีรับผิดชอบงานของกระทรวงนั้นๆ กระทรวงต่างๆ ในสมัยปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีดังนี้

๑. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองลาวประเทศราช

๒. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ฝ่ายตะวันออก และเมืองมลายูประเทศราช

๓. กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ

๔. กระทรวงวัง มีหน้าที่รับผิดชอบราชการในพระราชวัง และกรมที่เกี่ยวข้องกับราชการในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๕. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการตำรวจ และราชทัณฑ์ ต่อมาให้รับผิดชอบราชการในเขตแขวงกรุงเทพฯ ราชธานี

๖. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเก็บภาษีอากร และเงินที่เป็นรายรับและรายจ่ายในแผ่นดิน

๗. กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่บังคับศาลที่ชำระความทั่วทั้งประเทศทั้งแพ่ง อาญา และอุทธรณ์

๘. กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทหารบก และทหารเรือ

๙. กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก การป่าไม้ การทำเหมืองแร่ และการค้าขาย

๑๐. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการศาสนา การศึกษา และการสาธารณสุข

๑๑. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการก่อสร้าง ทำถนน ขุดคลอง การช่างทั่วไป การไปรษณีย์ โทรเลข และการรถไฟ ซึ่งวางแผนไว้ว่าจะมีขึ้นภายหลัง

๑๒. กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและงานหนังสือราชการทั้งปวงยิ่งกว่านั้น ยังได้ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น ๒ สภา ก็คือ

๑. รัฐมนตรีสภา

๒. องคมนตรีสภา


การปกครองส่วนภูมิภาค

๑. มณฑลเทศาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยเมืองตั้งแต่สองเมืองขึ้นไป มีข้าหลวงเทศาภิบาล หรือสมุหเทศาภิบาล ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีตัวแทนของกระทรวงอื่นๆ เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติราชการ

๒. เมืองหรือจังหวัดในปัจจุบัน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ขึ้นกับข้าหลวงเทศาภิบาลโดยตรง โดยมีข้าราชการอื่นๆ เป็นผู้ช่วย

๓. อำเภอ มีนายอำเภอซึ่งผู้ว่าราชการเมืองแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบ

๔. ตำบล มีกำนันซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากผู้ใหญ่บ้าน และผู้ว่าราชการเมืองแต่งตั้ง เป็นผู้รับผิดชอบ

๕. หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งราษฎรเลือกตั้งมา เป็นผู้รับผิดชอบ

การปกครองแบบท้องถิ่นทรงเล็งเห็นคุณประโยชน์ของการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงได้ทรงให้มีการปกครองท้องถิ่นโดยการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ในระยะต่อมา จึงได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น ถึง ๓๕ แห่ง การปกครองท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาลนี้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างหัวหน้าหน่วยราชการตำแหน่งต่างๆ ในท้องที่ กับกรรมการอื่นๆ ที่ราษฎรเป็นผู้เลือกขึ้นมา หน้าที่สำคัญๆ ของสุขาภิบาลได้แก่ การรักษาความสะอาด การให้การศึกษาขั้นต้นแก่ราษฎร การอนามัย และการบำรุงรักษาถนนหนทางการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย ได้ดำรงอยู่จนถึง พ.ศ.๒๔๗๕ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงมาสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ มีข้าราชการทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้แก่การปฏิวัติขึ้น โดยทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าว มีดังนี้

๑. เกิดจากอิทธิพลของการมีแนวความคิดในเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่บ้านข้าราชการที่ได้รับการศึกษามาจากยุโรป

๒. ฐานะทางการคลังของรัฐบาลเกิดทรุดลง ทำให้ต้องตัดรายจ่ายในด้านต่างๆ ลง ซึ่งรวมถึงบัญชีเงินเดือนของข้าราชการฝ่ายต่างๆ ด้วยจึงเกิดความไม่พอใจขึ้นมา

๓. คณะผู้ก่อการหลายคน มีความรู้สึกว่า ตนไม่ได้รับการยอมรับในความสามารถจากเจ้านายบางพระองค์ คณะผู้ก่อการ ซึ่งเรียกว่าตัวเองว่า"คณะราษฎร" ได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้น โดยมีพระยามโนปกรณ์ นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ได้ประกาศให้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ใช้รูปแบบการปกครองระบบรัฐสภา


แบบทดสอบหลังเรียน

http://quickr.me/5KetsGe

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์




พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง2. ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ3. ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้4. กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่ายเมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
บริเวณ เมืองหลวงใหม่ เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือบริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวงบริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่างบริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1 คือ คลองมหานาค







ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้

การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่งสมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง



เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย-กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร-กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ-กรมคลังหรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ-กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว


การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมืองหัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้-หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ "ผู้รั้ง"เป็นผู้ปกครอง-หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯหัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้นหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทยเป็นหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า



การปกครองประเทศราช

ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงครามประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ

การปรับปรุงกฏหมายและการศาลกฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฏหมายตราสามดวงกฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล

แบบทดสอบหลังเรียน

http://quickr.me/4kP7Lv7










วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงธนบุรี

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้

การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานีีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่

1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย

2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี

3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี) มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ

4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นาการปกครองส่วนภูมิภาค


การปกครองหัวเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์

หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก (ปทุมธานี)

หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์

หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์

หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรีหัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด

หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช

แบบทดสอบหลังเรียน

http://quickr.me/jyXnhHH

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ธงชาติไทย

พัฒนาการของธงชาติไทย


1.
ระยะเวลาการใช้
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325 (ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398 (ธงเรือเอกชน
การบังคับใช้
ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช





2.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2325 - 2360
การบังคับใช้
พระบรมราชโองการใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช





3.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2360 - 2398
การบังคับใช้
พระบรมราชโองการใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย



4.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2398 - 2459
การบังคับใช้
พระบรมราชโองการใน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116

พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129



5.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2459 - 2460
การบังคับใช้
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ) พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไข

พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459

6.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2459 - 2460 การบังคับใช้
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459
(ในชื่อ "ธงค้าขาย")


7.
ระยะเวลาการใช้
พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน
การบังคับใช้
พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460

พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
















วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7


ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ



1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี


2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย


3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย



นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก


กิจกรรมในวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชาเป็นวันที่สำคัญที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของ พระพุทธเจ้า กิจกรรมที่ทำในวันนี้ ชาวไทยนิยม ทำบุญ ตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา และฟังเทศน์ ทำจิตใจให้สงบ พอตกกลางคืนจะมีการเวียนเทียนที่วัด ลักษณะการเวียนเทียนจะเวียนขวาของโบสถ์ 3 รอบ ในขณะที่เวียนรอบที่ 1 ในระลึกพระคุณของพระพุทธเจ้า รอบที่ 2 ระลึกถึงพระคุณของพระธรรม รอบที่ 3 ระลึกถึงพระคุณของพระสงฆ์ และวนำดอกไม้ธูปเทียน ไปยังที่จัดให้วาง และร่วมสวดมนต์ ฟังเทศน์ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และงดเว้นจากการทำชั่ว ทำแต่สิ่งที่ดีงาม

แบบทดสอบหลังเรียน

http://quickr.me/qZFviSN





























ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา



รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา

รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ 3 ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลาง อยุธยาตอนปลาย

การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น มีลักษณะดังนี้

การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน

ส่วนที่ 1) การปกครองส่วนกลาง การปกครองในเขตราชธานี และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่ กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง (ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี) กรมคลัง (ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)

ส่วนที่ 2) การปกครองส่วนหัวเมือง แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

1. เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ เช่น ลพบุรี นครนายก พระประแดง สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
2. หัวเมืองชั้นใน อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตะนาวศรี ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง
3.หัวเมืองชั้นนอก หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
4. เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น


การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้

ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง

ช่วงที่ 1 เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน ทหาร มี สมุหกลาโหมดูแล ส่วนพลเรือนมี สมุหนายก ดูแล
สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช
สมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี


การปฏิรูปส่วนหัวเมือง แยกเป็น 3 ส่วน

หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน ทรงขุนนางไปครองเรียก ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า เมืองพระยามหานคร จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี
เมืองประเทศราช คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม
ช่วงที่ 2 ตรงกับสมัยพระเพทราชา ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้ สมุหกลาโหม ดูแล

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ในช่วง 2231-2310) มีลักษณะดังนี้

พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม ส่วนสมุหนายก ยังคงเหมือนเดิม การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง


สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ตลอด
จนสิ้นอยุธยา
แบบทดสอบหลังเรียน

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาเขต
ทิศเหนือจรดเมืองลำพูน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็นและภูเขาพนมดงรัก
ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดีทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์




อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไทโดยทำ สงครามปราชัยแก่พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981

ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย

แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นและการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
1.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นเมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบนายปกครองบ่าวเมื่อสถาปนากรุงสุโขทัย ขึ้นใหม่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบบิดาปกครองบุตรหรือพ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1.1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำราจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
1.2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากจึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือพ่อจึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่าพ่อขุน
1.3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้นๆเริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้านมีพ่อบ้านเป็นผู้ปกครองหลายบ้านรวมกันเป็นเมืองมีพ่อเมืองเป็นผู้ปกครองหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศมีพ่อขุนเป็นผู้ปกครอง
1.4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
1.5.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลายการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลงเนื่องจากสถาบันพระมหากษะตริย์ไม่มั้นคงเกิดความรำส่ำระสายเมืองต่างๆแยกตัวเป็นอิสระพระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบายทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ ราษฏรเพื่อให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสร้างความสามัคคีในบ้านเมือง

ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบธรรมราชาดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรกและพระมหากษัตริย์องค์ ต่อมาทรงพระนามว่า"พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์"
การปกครองสมัยสุโขทัย


การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3ลักษณะ คือ

1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัยการปกครองลักษณะนี้พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตรการปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตยลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและต้องเผยแพร่ธรรมะสู่ประชาชนด้วยการปกครอง แบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือเตภูมิกถา(ไตรภูมิพระร่วง)ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพเป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น

การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น


1. เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์พระราชวังและวัดจำนวนมากตั้งอยู่ในและนอกกำแพงเมืองราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครองการศาสนาวัฒนธรรมศิลปะและขนบประเพณีพระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
2. เมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่านตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า ประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงส์ได้รับแการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์


ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย

1. การเปลี่ยนแปลงการปกครองสุโขทัยสมัยแรกๆปกครองแบบพ่อปกครองลูกและได้เปลี่ยนเป็นสมมติเทพในสมัยพญาเลอไทซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของ พระมหากษัตริย ์กับประชาชนห่างเหินกันมากขึ้น ความสัมพันธ์แบบเครือญาติหมดไปพระมหากษัตริย์ต้องปกครองประเทศโดยลำพังทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่ายถ้าพระมหากษัตริย์อ่อนแอ
2. การกระจายอำนาจในการปกครองการปกครองแบบนี้ทำให้หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นอิสระได้ง่าย เพราะมีอิทธิพลในการปกครองตนเอง
3. การแตกแยกในราชวงศ์สาเหตุนี้ทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมและสูญเสียกำลังมากเพราะการฆ่าฟันกัน
4. การสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งเกิดจากการสถาปนากรุงศรีอยุธยาที่มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งมากกว่า


การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยสถาปนาขึ้นประมาณตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาดังนี้

1. การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรขอม อาณาจักรขอมเคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ตอนล่าง มีเมืองนครธม(พระนครหลวง) เป็นเมืองหลวง ในประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และแผ่อิทธิพลเข้ามายังบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วย ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( พ. ศ. 1724 – 1761) อาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองมาก หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาอ่อนแอ ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้ อาณาจักรขอมจึงเสื่อมอำนาจลงเรื่อย ๆ จึงเปิดโอกาสให้ชนชาติอื่นที่อาศัยในบริเวณนั้นตั้งตัวเป็นอิสระ อย่างเช่นชนชาติไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา
2. ความสามารถของผู้นำชาวไทย ในตอนหลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขอมที่มีศูนย์กลางการปกครองที่สุโขทัย เมืองของคนไทยอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ได้แก่เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางยาง เมืองราก ได้รวมตัวกันอย่างมั่นคงและมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่แน่นแฟ้น เมื่อขอมเสื่อมอำนาจจึงร่วมมือกันขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากสุโขทัยได้เป็นอาณาจักรของคนไทยได้สำเร็จ


พระมหากษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัย

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย เป็นกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงมีจำนวน 9 พระองค์ ดังนี้

พระนาม ปีที่ขึ้นครองราชย์ ปีที่สิ้นสุดรัชสมัย

1.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ.ศ. 1792 ไม่ปรากฎ
2.พ่อขุนบานเมือง ไม่ปรากฏ พ.ศ. 1822
3.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ.1822 พ.ศ. 1841
4.พระยาเลอไท พ.ศ.1841 ไม่ปรากฎ
5.พระยางั่วนำถม ไม่ปรากฎ พ.ศ.1890
6.พระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไท) พ.ศ. 1890 ระหว่าง พ.ศ. 1911-1916
7.พระมหาธรรมราชาที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 1911-1916 พ.ศ. 1942
8.พระมหาธรรมราชาที่ 3(ไสลือไท) พ.ศ.1943 พ.ศ.1962
9.พระมหาธรรมราชาที่ 4(บรมปาล) พ.ศ.1962 พ.ศ.1981


แบบทดสอบหลังเรียน